ASTRA กำลังก้าวไปข้างหน้า!
กิจกรรมเปิดศูนย์การวิจัยและพัฒนา
หลังจากประสบความสำเร็จในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและการให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนาในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาของลาวและไทย มีการเปิดตัวการจัดตั้งศูนย์อย่างเป็นทางการในงานเปิดศูนย์การวิจัยและพัฒนา (Launch Events) ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันอุดมศึกษาของพันธมิตรทั้ง 4 แห่งในสปป.ลาวและไทย ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กิจกรรมการเปิดศูนย์ทั้งสี่ที่มีจุดประสงค์เพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานของศูนย์การวิจัยและพัฒนาในสถาบันอุดมศึกษาและแจ้งเกี่ยวกับแนวโน้มและโอกาสที่เป็นไปได้สำหรับการระดมทุนระหว่างประเทศ โดยเน้นไปที่การขยายความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปเป็นพิเศษ นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นโอกาสที่เหมาะสมกับการเปิดตัวสำหรับการลงนามอย่างเป็นทางการในอาณัติการดำเนินงานของศูนย์
ตัวแทนจำนวนมากจากแวดวงการศึกษา อุตสาหกรรมในท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้บริจาคจากต่างประเทศเข้าร่วมแต่ละงานทั้งในสองประเทศ การจัดงานนี้มีส่วนช่วยในการมองเห็นการทำงานและรับประกันการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการเป็นหุ้นส่วน
งานเปิดตัวที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (NUOL) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 และมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 60 คน มหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต (SKU) ในประเทศลาวจัดงานเปิดตัวศูนย์ในวันที่ 3 เมษายน โดยสามารถดึงดูดตัวแทน 50 รายจากภาคการศึกษาและอุตสาหกรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) ในประเทศไทย จัดงานเปิดศูนย์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ที่คณะการบริการและการท่องเที่ยวโดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 45 คน สุดท้ายนี้ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) งานเปิดตัวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยมีตัวแทนและผู้มีส่วนได้เสียหลักมากกว่า 50 รายเข้าร่วม
การประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคในการให้ทุนสถาบัน
การประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในเอเชียทั้ง 4 แห่ง (NUOL, SKU, PSU, CMU) จัดขึ้นในวันที่ 7 และ 8 กันยายน พ.ศ. 2566 ในหลวงพระบาง สปป. ลาว ซึ่งจัดและเป็นเจ้าภาพโดย NUOL การประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมนี้เน้นความสำคัญด้านมูลค่าเพิ่มของความร่วมมือระดับภูมิภาคและข้ามชาติในการระดมทุนของสถาบันในสาขา ICT และสังคมศาสตร์ในบริบทของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังกำหนดเป็นตราประทับและรับประกันความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้อย่างต่อเนื่องระหว่างศูนย์ การวิจัยและพัฒนาที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ระหว่าง 4 สถาบัน ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมจาก 4 สถาบันทำงานร่วมกัน รวมทั้งแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้บริจาคและ
ผู้ระดมทุนในด้านการทำงานร่วมกันและโอกาสในการระดมทุน รวมถึงกรณีศึกษาในบริบทของแต่ละพื้นที่ มีการอภิปรายเกี่ยวกับการนำไปปฏิบัติและบทเรียนที่ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันส่งผลให้มีการสำรวจแนวคิดโครงการใหม่ 2 แนวคิดและส่งขอรับทุนโดยเน้นที่ภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก
การติดตามงานโดยการเยี่ยมชมสถานที่
จากการที่ศูนย์การวิจัยและพัฒนาได้ดำเนินการแบบทดลองนำร่องเพื่อช่วยให้การทำงานดีขึ้นในปี 2566 สิ่งสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการก็คือการโค้ช/การเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำปรึกษาจากพันธมิตรในสหภาพยุโรปทั้งแบบเสมือนจริงและนอกสถานที่ ในบริบทนี้ พันธมิตรของสหภาพยุโรปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา โดยนำความเชี่ยวชาญของตนเองและทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการ ดำเนินการ และจัดหาโอกาสในการระดมทุนใหม่ๆ ในสาขา ICT และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นการสนับสนุนและให้คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการดำเนินงานของศูนย์วิจัยและพัฒนา จึงมีการเยี่ยมชมสถานที่เพื่อติดตามผลในสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 4 แห่ง(NUOL, SKU, PSU, CMU) ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2566 ผู้เชี่ยวชาญจากพันธมิตรโครงการในสหภาพยุโรปสามแห่ง ประกอบด้วย Symplexis, Athens University of Economics & Business และ University of Florence ได้มีโอกาสเยี่ยมชมศูนย์การวิจัยและพัฒนาที่จัดตั้งขึ้นใหม่และติดตามการดำเนินงานโดยให้และรับฟังคำแนะนำเพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานจะเป็นไปอย่างราบรื่นและยั่งยืน
ประเด็นต่างๆในระหว่างการเยี่ยมชมครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ ได้แก่ การจัดลำดับความสำคัญของโอกาสในการระดมทุน การทำความคุ้นเคยกับฐานการส่งโครงร่างออนไลน์ การสร้างแนวคิดโครงการใหม่ การรักษาความร่วมมือ การจัดโครงสร้างโครงการ การกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการ การจัดสรรความรับผิดชอบ การร่างแผนภูมิแกนต์ (Gantt) การจัดทำงบประมาณ ฯลฯ
นอกจากนี้ ในระหว่างการติดตามผลนอกสถานที่ เจ้าหน้าที่สถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์ การวิจัยและพัฒนาแต่ละแห่งมีโอกาสหารือในรายละเอียดและรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวคิดโครงการใหม่ๆ และโอกาสในการระดมทุนเพื่อการดำเนินการซึ่งถือเป็นงานที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการในการทำงานของศูนย์ การเยี่ยมชมสถานที่และการให้คำปรึกษายังเป็นการเปิดโอกาสให้ศูนย์ได้นำเสนอและตรวจสอบแผนความยั่งยืนในระยะยาว
Visit ASTRA website to learn more: https://astra-project.eu/